ความเร็วของเว็บไซต์มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้านะครับ ถ้าเข้าเว็บมาแล้วต้องมาเสียเวลารอเว็บโหลดเสร็จอยู่นานสองนาน เชื่อว่าลูกค้าคุณคงไม่แฮปปี้แน่นอนและโอกาสที่คุณจะได้ลูกค้าเพิ่มก็เสียไปด้วย แถมกูเกิ้ลยังใช้ความเร็วของเว็บไซต์ (web speed) เป็นมาตรฐานในการจัดอันดับเว็บไซต์ที่โชว์เวลาลูกค้าค้นหาข้อมูลจาก google search ด้วย (เวลามาตรฐานคือควรต่ำกว่า 3 วินาที) ถ้าเว็บของคุณโหลดช้า ก็คงจะถูกจัดไปอยู่ในอันดับท้ายๆ นั่นก็ส่งผลแย่เพราะลูกค้าก็เลือกที่จะเข้าไปดูเว็บที่อยู่ในอันดับต้นๆ ก่อน มาดูกันว่าอะไรที่ทำให้เว็บของคุณโหลดช้า
1.อินเตอร์เน็ตคุณช้า
สิ่งแรกที่ต้องเช็คก็คือความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ (ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ออฟฟิศหรือเน็ตมือถือ) ถ้าเน็ตช้า ยังไงเว็บคุณก็ต้องโหลดช้าแน่นอน วิธีการคร่าวๆ ก็คือใช้ Internet Speed Test หรือลองเข้าเว็บอื่นๆ ดูแล้วเช็คว่าช้าเหมือนเว็บเราหรือเปล่า ถ้าเว็บทั้งหมดที่ตรวจดูโหลดช้าเหมือนกันหมดก็แสดงว่าน่าจะเป็นที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตของคุณแล้ว แต่ถ้าเว็บอื่นเร็วปกติก็แสดงว่าเว็บของเราอาจจะมีปัญหา
เรามีบริการตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ฟรี คุณสามารถเข้าไปลองใช้บริการได้ ที่นี่
2.คุณใช้เว็บโฮสติ้งที่ไม่มีประสิทธิภาพ
บางครั้งสาเหตุที่เว็บของคุณโหลดช้าก็มาจากเว็บโฮสติ้งที่ไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเรื่องเซิฟเวอร์เพราะเซิฟเวอร์ก็เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ เมื่อคนเข้าเยี่ยมชมเว็บคลิ๊กที่เว็บไซต์คุณก็เหมือนการเสียบกุญแจเพื่อสตาร์ทรถเพื่อให้เครื่องยนต์ติด สิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือเบร้าเซอร์ (เช่น Safari, Chrome) ส่ง ping ไปยังเครื่องเซิฟเวอร์เพื่อขอรายละเอียดและข้อมูลเพื่อที่จะโหลด (ดู) เว็บ ถ้าเซิฟเวอร์ประสิทธิภาพไม่ดีมันก็จะใช้เวลานานในการตอบสนองถึงแม้ว่าอย่างอื่นจะเร็วแค่ไหนก็ตาม นั่นหมายความว่าถ้าเซิฟเวอร์ทำงานช้า ทุกอย่างก็จะเริ่มช้านั่งเอง การใช้เว็บโฮสติ้งราคาถูก (หรือฟรี) มักจะเป็นแบบการแชร์ความเร็วและพื้นที่กับเว็บอื่นๆ ซึ่งมีข้อเสียคือทำให้เว็บของคุณโหลดช้า ยิ่งถ้าคุณแชร์กับเว็บที่มีคนเข้าชมเยอะๆ นั่นจะทำให้เว็บของคุณยิ่งช้าเข้าไปอีกเพราะเว็บนั้นดูดเอาทรัพยากรไปใช้หมด
*ถ้าอยากเปลี่ยนผู้ให้บริการ ลองดูแพ็คเกจเว็บโฮสติ้งของเราได้ ที่นี่ นะครับ
3.เซิฟเวอร์ไม่อยู่ในไทย
ข้อนี้สำคัญเพราะตำแหน่งของเซิฟเวอร์กับตำแหน่งของลูกค้า (ผู้เข้าชมเว็บ) มีความสัมพันธ์กัน ถ้าทั้งสองอย่างอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เวลาในการโหลดเว็บก็จะทำได้รวดเร็ว เช่นคนดูอยู่ในไทย เซิฟเวอร์อยู่ในกรุงเทพ เป็นต้น แต่ถ้าไม่อยู่ด้วยกัน เช่น เราจะเข้าดูเว็บที่กรุงเทพแต่เซิฟเวอร์ของเว็บนั้นอยู่อเมริกา เวลาในการโหลดก็จะนานกว่าปกติ นี่แหล่ะที่จะส่งผลต่อความประทับใจในการเข้าเว็บของลูกค้าด้วย
4.ข้อมูลใน database มีเยอะเกินไป
เมื่อตอนที่เว็บยังใหม่อยู่ แน่นอนว่ามันสามารถโหลดได้รวดเร็วทันใจแต่พอนานไป ก็จะเริ่มช้าลงๆ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าเว็บของคุณเก็บฐานข้อมูลหรือ database ไว้เยอะและเว็บไซต์เองก็มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย สำหรับการแก้ปัญหานี้ก็ลองเข้าไปทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ดูเพื่อที่จะหาว่า database มีปัญหาอะไรบ้าง เช่นไฟล์ไหนที่ใช้เวลาโหลดนานจนเป็นตัวถ่วง ฯลฯ
5.คนเข้าชมเยอะ
การที่คนเข้าชมเว็บไซต์ของคุณเยอะแล้วทำให้มันต้องใช้เวลาโหลดนานมากขึ้นถือว่าเป็นสาเหตุปกติเพราะว่าเดิมทีเซิฟเวอร์ได้กำหนดจำนวนคนเข้าชมไว้ที่ระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าตอนนี้คนเข้าชมมีเยอะกว่าที่กำหนดไว้มันก็เหมือนการเข้าคิวรอเข้าร้าน ยิ่งถ้าคนมาเยอะก็ต้องรอนานข้ึนกว่าเดิม ทางออกก็คืออาจจะต้องอัพเกรดแพ็คเก็จเว็บโฮสติ้งที่สามารถรองรับปริมาณการเข้าชมได้มากกว่าหรือเพิ่ม add on ที่ผู้ให้บริการจัดไว้ให้สำหรับกรณีนี้โดยเฉพาะ
6.ไฟล์ใหญ่หรือไฟล์บางประเภทใช้เวลาโหลดนาน
สมัยก่อนที่อินเตอร์เน็ตยังไม่เร็ว เวลาเราเข้าเว็บที่มีรูปใหญ่ๆ เว็บจะโหลดนานมากแทบจะเป็นนาทีกว่าจะโหลดเสร็จ สมัยนี้ก็เช่นกันแม้อินเตอร์เน็ตจะเร็วขึ้นแต่หลักการนี้ก็ยังไม่เปลี่ยน นั่นคือถ้าในหน้าเว็บไซต์มีรูปที่เป็นไฟล์ขนาดใหญ่ ก็ต้องใช้เวลาโหลดนานเช่นกัน (แต่อาจจะไม่ต้องรอเป็นนาทีเหมือนเมื่อก่อน) ดังนั้นการแก้ปัญหาก็คือไม่ใช้ไฟล์ขนาดใหญ่หรือมีบางเว็บที่ใช้รูปแสดงผลข้อความ แทนที่จะใช้ไฟล์ text ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่กว่าซึ่งคุณควรเลี่ยงวิธีการแบบนี้ นอกจากนี้ ประเภทของไฟล์ก็มีผลต่อการโหลดเช่นกัน เช่น ไฟล์ jpg, png, gif ก็จะใช้เวลาโหลดน้อยกว่า tiff, bmp เป็นต้น
7.มีปลั๊กอินเยอะเกินไป
ถ้าหากคุณใช้ WordPress ทำเว็บไซต์ คุณน่าจะได้ปลั๊กอินหลายอย่างซึ่งแต่ละอันมีไฟล์ CSS และก็ javascript ที่ต้องโหลด นั่นหมายความว่า ยิ่งมีปลั๊กอินเยอะก็ต้องโหลดเยอะ นั่นยิ่งจะทำให้เสียเวลา ผลก็คือเว็บโหลดนานขึ้นนั่นเอง ดังนั้นควรจะเลือกเอาที่จำเป็นไว้แล้วคัดที่เหลือออกไป
8.การ redirect ที่ไม่จำเป็น
การใช้ redirect ที่ไม่จำเป็นก็เหมือนกับการหาทางไป TCDC ที่เอ็มโพเรี่ยม แต่เมื่อคุณเดินไปถึงแล้วพบว่ามันปิดและย้ายไปเปิดที่แถวเจริญกรุงแทน แล้วคุณต้องฝ่ารถติดไป มันใช้เวลานานใช่ไหมล่ะ นั่นแหล่ะ การใช้ redirect ก็เหมือนการโหลดเพจซ้ำสองรอบ ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้ทางเราก็ไม่แนะนำให้ใช้
Photo by bruce mars on Unsplash