5 แหล่งที่คุณต้องรู้ถ้าอยากอัพเดทข่าวสารในวงการเว็บไซต์ไทย

เมื่อพูดถึงวงการเว็บไซต์ไทย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ-จัดทำหรือโฮสติ้ง บางครั้งอาจจะเป็นการยากสักหน่อยที่เราจะติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวเพราะธุรกิจหรือวงการนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเฉพาะทาง (เมื่อเทียบกับวงการอื่นๆ) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ใช่ว่าจะลึกลับซับซ้อนขนาดจนหาไม่ได้เลย วันนี้เรารวมเอาแหล่งที่คุณจะสามารถเข้าไปร่วมติดตามความเคลื่อนไหวเพื่ออัพเดทข่าวสารหรือไปพบปะกันแบบตัวเป็นๆ กับเพื่อนร่วมวงการได้

 

BKK Web Meetup

BKK Web Meetup เป็นศูนย์รวมกลุ่มของนักออกแบบ, ผู้จัดทำ, นักพัฒนาเว็บไซต์ รวมไปถึงเจ้าของธุรกิจเพื่อจัดงานสัมนา-อธิปรายเกี่ยวกับทุกอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องเว็บไซต์ ตั้งแต่การออกแบบ, การจัดทำ, เทรนด์ ฯลฯ โดยจะจัดงานขึ้นประมาณ 1-2 เดือนต่อครั้ง วัตถุประสงค์ของการจัดก็เพื่อให้สมาชิกมีโอกาสได้มารับฟังหรือแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน ล่าสุดนี้คืองาน UX Methodologies And Design Thinking ที่เพิ่งจัดไปเมื่อตอนต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์รวมหรือช่องทางการติดต่อสื่อสารหลักของกลุ่มนี้ก็คือ Facebook ในชื่อ BKK Web Meetup  (https://www.facebook.com/groups/bkkweb/) ซึ่งคุณสามารถส่งคำขอเพื่อไปเข้ากลุ่มได้ สมาชิกมีทั้งคนไทยแต่ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ดังนั้นภาษาที่ใช้เวลาโพสต์มักจะเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีสมาชิกเกือบห้าพันคนแล้ว

 

ชมรมคนทำเว็บ

นี่ก็เป็นคอมมิวนิตี้ที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับวงการนี้ (https://www.facebook.com/groups/122558751110047/) ตอนนี้มีสมาชิกกว่าสองหมื่นคนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ดังนั้นใครที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษก็สามารถมาขอเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ได้ วัตถุประสงค์หลักของคนจัดตั้งกลุ่มก็คืออยากมีช่องทางที่เป็นศูนย์รวมของคนเขียนเว็บไซต์ทั้งมือสมัครเล่น และมืออาชีพในประเทศไทย เพื่อจะได้มาร่วมกันแชร์ไอเดีย แบ่งปันความรู้เพื่อสร้างมาตรฐานวงการเว็บไซต์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เป็นพื้นที่ในการหาคำตอบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดทำ-ออกแบบเว็บไซต์จากบรรดาสมาชิก ดังนั้นถ้าหากคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยเรื่องเว็บไซต์ก็สามารถไปโพสต์ถามบรรดาเซียนนักทำเว็บทั้งหลายได้ในกลุ่มนี้

 

สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association)

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่ามีสมาคมนี้อยู่ วัตถุประสงค์ที่มีการจัดตั้งสมาคมนี้ขึ้นมาก็เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็นระหว่างสมาชิก รวมไปถึงเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมวิชาชีพผู้ดูแลและพัฒนาเว็บด้วย ดังนั้น ที่สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (https://www.webmaster.or.th) คุณสามารถเข้าไปติดตามดูข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการ รวมถึงอ่านบทความดีๆ ได้ ทั้งการทำเว็บ ไปจนถึงการทำตลาดออนไลน์ นอกจากนี้ ทางสมาคมยังมีการร่วมมือกับองค์กรและบริษัทเอกชนบางแห่งจัด workshop อยู่เรื่อยๆ ถ้าใครที่สนใจการอยากพัฒนาฝีมือให้เก่งขึ้นก็สามารถเข้ามาดูหัวข้อที่สนใจได้ เช่น ออกแบบเพจให้ปังด้วยกราฟฟิกแบบง่าย ฯลฯ

 

WordCamp Bangkok

งานรวมตัวคนใช้ WordPress ทุกรุ่น ทั้งในและต่างประเทศ ในงานนี้จะเปิดโอกาสให้ทุกคนที่มีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับ WordPress อาทิเช่น บล็อกเกอร์, นักพัฒนา, นักออกแบบ, นักการตลาด, เจ้าของธุรกิจ, ผู้บริหาร, นักศึกษาให้ได้มาพบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีหลากหลาย session ให้ร่วมเข้าชม อย่างไรก็ตาม ปีนี้ได้จัดขึ้นไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยสยาม (งานจัดปีละครั้ง) โดยตลอดทั้งงานมีการพูดคุยกันตั้งแต่เรื่องทั่วไป ไปจนถึงความรู้เชิงเทคนิคเกี่ยวกับ WordPress โดยวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงหัวข้ออื่นๆ เช่น business, marketing, design, progamming

งานนี้จึงถือเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้ทำความรู้จัก พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับคนอื่นๆ ในวงการ รอติดตามนะครับว่าปีหน้าจะจัดขึ้นช่วงไหน

 

WordPress Bangkok

Public Group บน Facebook ที่เป็นศูนย์รวมของนักออกแบบ-จัดทำเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress (https://www.facebook.com/groups/wpalliance/) ตอนนี้มีสมาชิกหมื่นกว่าคนแล้ว กรุ๊ปนี้เป็นที่แชร์ผลงาน แชร์ลิงค์ความรู้ สอบถามวิธีใช้ ปลั๊กอิน ไปจนถึงการทำธีม หรือใครที่ยังว่างงานอยู่ก็สามารถมาหางานได้เพราะจะมีบริษัทมาโพสต์ประกาศรับสมัครงาน (web designer, programmer) อยู่เรื่อยๆ

 

เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อคุณจะต้องทำงานจากที่บ้าน

By Rutger | March 18, 2020 | 0 Comments

อีกวิธีหนึ่งในการชะลอการแพร่กระจายของไวรัส โควิด-19 (เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลพร้อมรองรับผู้ป่วย ได้เต็มความสามารถของพวกเขา) ก็คือการทำงานจากที่บ้าน และเหมือนว่าในชั่วข้ามคืน การทำงานที่บ้าน กลายเป็นส่วนหนึ่งของหลายคน แนวคิดของการทำงานที่บ้านนั้น ไม่เหมือนกับการนั่งทำงานที่ออฟฟิสด้วยกัน ในขณะที่คุณประหยัดเวลาในการเดินทาง แต่อาจจะมีผลกระทบต่อด้านการผลิตหรือชิ้นงานของคุณ การทำงานเป็นทีม และด้านสังคมอาจได้รับผลกระทบไปด้วย เราจึงรวบรวมเครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนจากออฟฟิศไปเป็นโฮมออฟฟิศได้ง่ายขึ้น ด้วยแอปพลิเคชั่นสำหรับการจัดการการแชร์ไฟล์ การประชุมผ่านเว็บ การสื่อสารเป็นทีม หรือ แม้แต่แอปพลิเคชั่น ที่จะทำให้คุณเพลิดเพลินไปกับการทำงานที่บ้าน: Google Hangouts – Meet / Skype / Zoom – แฮงเอาท์วิดีโอ (ส่วนใหญ่ฟรี) Slack.com – การส่งข้อความ การโทรด้วยเสียง และวิดีโอฟรี (แต่ต้องจ่ายสำหรับ Screen Sharing) Basecamp.com – การจัดการการปฏิบัติงานต่างๆ (ต้องจ่าย) Trello.com – เปลี่ยนจากกระดาษที่วางบนโต๊ะไปเป็นการใช้ด้วยดิจิตอลโฟลว์ (ส่วนใหญ่ฟรี) Timesheetr.com – ติดตามเวลาทำงาน (ฟรีสำหรับผู้ใช้งานหนึ่งคน ข้อโปรแกรมนี้ทางเราสร้างขึ้นมาเอง) G Suite…